Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading  Processing Request

การใช้แพลงก์ตอนสัตว์เป็นตัวชี้วัดการไหลเวียนของมวลน้ำในพื้นที่ป่าชายเลน ศูนย์ศึกษาการเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี ตำบลปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ; Using zooplankton as an indicator for water circulation in mangrove area of Sirinath Rajini magrove Ecosystem Learning Center, Pranburi, Prachuab Kirikhan Province

Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading   Processing Request
  • معلومة اضافية
    • Contributors:
      ธวัชชัย ศุภดิษฐ์
    • بيانات النشر:
      สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    • الموضوع:
      2019
    • Collection:
      NIDA (National Institute of Development Administration): Wisdom Repository / สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    • نبذة مختصرة :
      วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 ; การศึกษาแพลงก์ตอนสัตว์เพื่อใช้เป็นดัชนีชี้วัดการไหลเวียนของมวลน้ำในศูนย์ศึกษา เรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงเดือน กันยายน พ.ศ. 2559 และเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นช่วงก่อนและหลังการขุดลอกร่องน้ำเพื่อ แก้ไขปัญหาการแลกเปลี่ยนของมวลน้ำในป่าชายเลนกับแม่น้ำปราณบุรีที่ได้ดำเนินการในช่วงเดือน ธันวาคม พ.ศ. 2559 โดยใช้ถุงลากแพลงก์ตอนขนาดตา 100 และ 330 ไมโครเมตร เพื่อศึกษาให้ ครอบคลุมทั้งกลุ่มแพลงก์ตอนสัตว์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทำการลากในแนวระดับในสถานี ศึกษาทั้งสิ้น 5 สถานี คือ ด้านในของป่าชายเลน (สถานี A และ B)คลองย่อยที่มีทางน้ำเข้าสู่พื้นที่ป่าชายเลน (สถานี C และ D) และบริเวณปากคลองย่อยที่เชื่อมกับแม่น้ำปราณบุรี(สถานีE) ผลการศึกษาพบว่าปัจจยัสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความเค็ม และความเป็นกรด-เบสของน้ำทะเล ระหว่างช่วงก่อนและหลังการขุดลอกร่องน้ำมีความแตกต่างกัน (p< 0.05) และพบว่าความเค็มและปริมาณออกซิเจนละลายระหว่างสถานีมีความแตกต่างกัน (p< 0.05) ส่วนปริมาณแพลงก์ตอนสัตว์ ไม่มีความแตกต่างกันทั้งระหว่างช่วงเวลาและระหว่างสถานีอย่างไรก็ตาม ความหนาแน่นของแพลงก์ตอนสัตว์ในช่วงหลงัการขุดลอกร่องน้ำมีค่าสูงกว่าช่วงก่อนการขุดลอกร่องน้ำเล็กน้อย ความหลากหลายของแพลงก์ตอนสัตว์พบท้งัสิ้น 43กลุ่ม โดยกลุ่มหลักที่พบคือโคพีพอดทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่คาลานอยด์โคพีพอด ไซโคลพอยด์โคพีพอด และฮาร์แพคทิคอยด์โคพีพอด รวมทั้งตัวอ่อน ระยะนอเพลียสของโคพีพอด นอกจากนี้ยังพบว่าแพลงก์ตอนสัตวก์ลุ่มที่ชอบอาศัยอยู่ในทะเลเช่น กลุ่มไฮโดรเมดูซีและกลุ่มหนอนธนูมีปริมาณเพิ่มขึ้นในบริเวณด้านในของป่าชายเลนในช่วงหลังการขุดลอกร่องน้ำ ซึ่งสะท้อนถึงการไหลเวียนของน้ำจากด้านนอกเข้าสู่พื้นที่ป่าได้ดีขึ้น อีกทั้งยังพบแพลงก์ตอนสัตวก์ลุ่มลูกสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เช่น ลูกกุ้ง ลูกปู ลูกหอย และลูกปลา ในบริเวณศึกษา บ่งบอกถึงความสำคัญ ของป่าชายเลนในการเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
    • File Description:
      85 แผ่น; application/pdf
    • Relation:
      b207914; https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6402
    • الرقم المعرف:
      10.14457/NIDA.the.2019.115
    • الدخول الالكتروني :
      https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6402
      https://doi.org/10.14457/NIDA.the.2019.115
    • Rights:
      ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
    • الرقم المعرف:
      edsbas.E87F0EAA