Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading  Processing Request

ปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร ; Helth problems and occupational safety behaviors of junk-shop workers in Prawat District, Bangkok

Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading   Processing Request
  • معلومة اضافية
    • Contributors:
      วรางคณา ศรนิล
    • بيانات النشر:
      สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    • الموضوع:
      2017
    • Collection:
      NIDA (National Institute of Development Administration): Wisdom Repository / สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    • نبذة مختصرة :
      วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 ; การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัย ในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า 2) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า และ 3) เสนอแนะแนวทาง การส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานในร้านรับซื้อของเก่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ร้านรับซื้อของเก่า ในพื้นที่เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร จำนวน 31 แห่ง และคนงานจำนวน 125 คน ที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติตามที่กำหนด โดยใช้แบบสอบถามกึ่ง สัมภาษณ์และแบบตรวจประเมินร้านรับซื้อของเก่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test (Independent Samples) และF-test (One-Way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ0.05 ผลการศึกษา พบว่า คนงานในร้านรับซื้อของเก่าเกินกว่ากึ่งหนึ่งเป็นเพศชาย (ร้อยละ 59.80) โดยคนงานแต่ละคนสามารถทำงานได้หลายหน้าที่ ร้อยละ 90.40 ทำงานวันละ 8 ชั่วโมง คนงานสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านกายภาพมากที่สุด โดยสัมผัสฝุ่นละออง ร้อยละ 67.20 ทำงาน ในบริเวณที่มีความร้อนและแสงแดด ร้อยละ 36.00 ท างานในบริเวณที่มีเสียงดังจากเครื่องจักร ร้อยละ 12.00 สัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้านเคมี ร้อยละ 19.20และสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพด้าน ชีวภาพ ร้อยละ 20.80 จากการสัมภาษณ์ปัญหาสุขภาพ พบว่า คนงานมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ร้อยละ 65.60 มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 53.60 มีอาการทางสายตาและการมองเห็น ร้อยละ 40.80 มีอาการทางการได้ยินร้อยละ 40.00 และมีอาการทางระบบทางเดินหายใจร้อยละ 36.80 ส่วน พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับปานกลาง ผลการปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของ คนงานในร้านรับซื้อของเก่า พบว่า คนงานที่มีเพศแตกต่างกัน มีพฤติกรรมความปลอดภัยในการ ทำงานในภาพรวมที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลจากการศึกษา พบว่า คนงานยังไม่สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ เหมาะสมกับลักษณะงาน ขาดความรู้ ความเข้าใจในด้านการปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยใน การทำงาน การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการทางด้านสุขภาพยังมีน้อย และจากการสำรวจการ ...
    • File Description:
      210 แผ่น; application/pdf
    • Relation:
      b199284; https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6298
    • الرقم المعرف:
      10.14457/NIDA.the.2017.139
    • الدخول الالكتروني :
      https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/6298
      https://doi.org/10.14457/NIDA.the.2017.139
    • Rights:
      ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
    • الرقم المعرف:
      edsbas.DDE5204F