Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading  Processing Request

การปรับใช้แนวคิดการลงโทษให้ได้สัดส่วน (Just Deserts) กับการพิจารณาความผิดที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำในฐานความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา ; Implementing the just deserts concept with juvenile delinquents as offenders of sexual assault on rape

Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading   Processing Request
  • معلومة اضافية
    • Contributors:
      วัชรชัย จิรจินดากุล
    • بيانات النشر:
      สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    • الموضوع:
      2019
    • Collection:
      NIDA (National Institute of Development Administration): Wisdom Repository / สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
    • نبذة مختصرة :
      วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562 ; ปัจจุบันการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมีสถิติที่สูงขึ้น จากการศึกษาพบว่า การกระทำความผิดเหล่านั้นมีลักษณะร้ายแรง ไม่ต่างจากการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งบทความนี้ศึกษาแนวคิดการลงโทษให้ได้สัดส่วน (Just Desserts) กับการพิจารณาความผิดที่เด็กและเยาชวนเป็นผู้กระทำความผิดกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา โดยผู้เขียนได้ใช้วิธีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดตามกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาตัวอย่างประเทศที่มีการนำทฤษฎี Just Deserts มาใช้กับเด็กและเยาวชนที่ได้กระทำความผิด วิเคราะห์ถึงจุดอ่อนและจุดเด่นของการนำทฤษฎีดังกล่าวมาใช้ในทางปฏิบัติสำหรับการพิจารณาตัดสินลงโทษเด็กหรือเยาวชนที่ได้กระทำความผิดเกี่ยวกับเพศในเรื่องของการข่มขืนกระทำชำเราสำหรับประเทศไทย และเสนอแนวทางการแก้ไขหรือเพิ่มเติมเงื่อนไขบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศในส่วนของการข่มขืนกระทำชำเราให้มีความเหมาะสมกับบริบทสังคมไทยในปัจจุบัน จากการศึกษา พบว่าแนวคิดการลงโทษเด็กและเยาวชนในประเทศไทยตั้งอยู่บนพื้นฐานการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู ซึ่งเป็นแนวคิดที่มีการใช้มาอย่างยาวนาน ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 73-75 ไม่ว่าการกระทำความผิดนั้นจะเป็นการกระทำความผิดฐานใด หรือมีเป็นการกระทำที่มีลักษณะรุนแรงเพียงใด เด็กและเยาวชนที่ได้กระทำความผิดย่อมได้รับการยกเว้นโทษหรือลดโทษอยู่เสมอ ซึ่งจากแนวคิดดังกล่าวนี้ ไม่ทำให้การกระทำความผิดของเด็กและเยาวชนลดลง อีกทั้งสถิติการกระทำความผิดยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งฐานความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา เนื่องจากสภาพแวดล้อมในด้านต่างๆ ของสังคมมีความเปลี่ยนแปลง เด็กและเยาวชนในยุคสมัยนี้จึงมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ในต่างประเทศได้ประสบปัญหาเด็กและเยาวชนกระทำความผิดทางอาญาเพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการลงโทษสำหรับเด็กและเยาวชนที่ได้กระทำความผิดทางอาญา จากการลงโทษเด็กและเยาวชนที่อยู่บนพื้นฐานแนวคิดการลงโทษเพื่อแก้ไขฟื้นฟู มาเป็นการนำแนวคิดการลงโทษตามทฤษฎี Just ...
    • File Description:
      139 แผ่น; application/pdf
    • Relation:
      b207944; https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4980
    • الدخول الالكتروني :
      https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4980
    • Rights:
      ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
    • الرقم المعرف:
      edsbas.6C79BE56