Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading  Processing Request

พฤติกรรมสุขภาพและสถานะสุขภาพของบุคลากร ในโรงพยาบาลลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ 2547 ; Health Behavior and Health Status of Personnel in Lamplaimat Hospital, Burirum Province 2004.

Item request has been placed! ×
Item request cannot be made. ×
loading   Processing Request
  • المؤلفون: สุรเนาวรัตน์, ชาตรี
  • المصدر:
    วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์; Vol 19 No 3 (2004): September - December; 37-52 ; MEDICAL JOURNAL OF SRISAKET SURIN BURIRAM HOSPITALS; Vol 19 No 3 (2004): September - December; 37-52 ; 0857-2895
  • نوع التسجيلة:
    article in journal/newspaper
  • اللغة:
    Thai
  • معلومة اضافية
    • بيانات النشر:
      ห้องสมุดโรงพยาบาลบุรีรัมย์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์ 10/1 ถนนหน้าสถานี ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ 31000
    • الموضوع:
      2019
    • Collection:
      Thai Journals Online (ThaiJO)
    • نبذة مختصرة :
      เหตุผลในการศึกษา: บุคลากรของโรงพยาบาลโดยทั่วไปสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง และบุคลากรอื่นๆ ที่ไม่สัมผัสกับผู้ป่วยโดยตรง ต่างก็มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อจากการปฏิบัติงานทั้งทางตรงและทางอ้อม และ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ,ขณะปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจ ที่จะศึกษาสถานะและพฤติกรรมสุขภาพบุคลากร เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานที่จะ'ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงนโยบายด้านการดูแลสุขภาพบุคลากรต่อไปวัตถุประสงค์: 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลลำปลายมาศ 2. เพื่อศึกษาสถานะสุขภาพของบุคลากรในโรงพยาบาลลำปลายมาศ รูปแบบการวิจัย: การศึกษาเชิงสำรวจ (Survey research)กลุ่มตัวอย่าง: บุคลากรในโรงพยาบาลลำปลายมาศ จำนวน 213 คน ระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ สิงหาคม 2547 - กันยายน 2547 ผลการศึกษา: บุคลากรโรงพยาบาลลำปลายมาศ จำนวน 213 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 73.7 ที่อายุน้อยกว่า 30 ปี และ อายุ 30 - 39 ปี เท่ากัน ร้อยละ 33.8 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 62.4 ปฏิบัติงานในตำแหน่งพยาบาล ร้อยละ 31.5 จบการศึกษาในระดับอนุปริญญา ร้อยละ 39.9 พฤติกรรมสุขภาพ พบว่า สูบบุหรี่ ร้อยละ 8.5 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 44.1 ไม่มีการออกกำลังกาย ร้อยละ 45.5 ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พบว่า การบริโภคเป็นประจำวันละ 1 ครั้ง สูงสุด ได้แก่ บริโภคผัก ร้อยละ 67.1 บริโภคน้ำมันพืช ร้อยละ 43.2 บริโภคผลไม้ ร้อยละ 36.2 ตรวจวัดความดันในรอบ 1 ปี ร้อยละ 91.5 แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ร้อยละ 69.0 นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 20.2 และมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ร้อยละ 1.9 สถานะสุขภาพของบุคลากรมีบุคลากรทั้งสิ้น 159 คน เข้ารับการตรวจสุขภาพคิดเป็นร้อยละ 74.6 ได้รับการฉายภาพรังสีทรวงอกจำนวน 118 คน คิดเป็นร้อยละ 93.2 ผลการวินิจฉัย ผิดปกติ 8 คน คิดเป็นร้อยละ 6.8 ของผู้ฉายภาพรังสีทรวงอก ผลการตรวจปัสสาวะและเลือดเมื่อเปรียบเทียบรายการตรวจกับค่ามาตรฐานโดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม พบว่าผลการตรวจที่มีค่าผิดปกติมาก สูงสุดได้แก่ ผลการตรวจปัสสาวะ (UA) รองลงมา ได้แก่ ผลการตรวจการทำงานของตับ (LFT) และ ผลการตรวจไขมันในเลือด (Blood cholesterol) คิดเป็นร้อยละ 8.8 5.2 และ 5.1 ของผู้รับการ ตรวจทางห้องปฏิบัติการแต่ละรายการ ผลการวินิจฉัยโดยแพทย์ พบว่า มีสถานะสุขภาพปกติ คิดเป็นร้อยละ 32.1 ผิดปกติเล็กน้อย ร้อยละ 35.2 ...
    • File Description:
      application/pdf
    • Relation:
      https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/204173/142277; https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/204173
    • الدخول الالكتروني :
      https://www.tci-thaijo.org/index.php/MJSSBH/article/view/204173
    • Rights:
      Copyright (c) 2019 MEDICAL JOURNAL OF SRISAKET SURIN BURIRAM HOSPITALS ; https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
    • الرقم المعرف:
      edsbas.40D04F60